ฝายแม้วฮอลแลนด์

บริเวณแถบภูเขาทะนะคะมิยะมะ เคยเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นภูเขาที่สามารถตัดต้นสนฮิโนกิเนื้อดี มีการนำไม้ไปใช้เป็นจำนวนมากในการสร้างอาคารต่างๆในครั้งที่เมืองหลวงอยู่ที่ฟุจิวะระเคียว หรือตอนที่เมืองหลวงอยู่ที่เฮโจเคียวในอดีต และนำไปใช้สร้างวัดโตไดจิด้วย
จนทำให้กลายเป็นภูเขาโล้นที่เห็นพื้นดินที่เป็นหินแกรนิต และมีปัญหาเรื่องป่าไม่เก็บน้ำทำให้เกิดน้ำไหลเชี่ยว
ฝายแม้วฮอลแลนด์นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อมาเป็นฝายแม้วกันดินทรายที่บริเวณต้นน้ำของแม่น้ำคุสะซึ ในตำบลคะมิทะนะคะมิคิริว โดยสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1889
รัฐบาลใหม่สมัยเมจิได้เชิญช่างชาวฮอลแลนด์ Johannis de Rijke มาเป็นผู้ชี้แนะในเรื่องเทคนิคจึงตั้งชื่อฝายแม้วเช่นนี้
โดยมีช่างชาวญี่ปุ่น ทะนะเบะ กิสะบุโร เป็นผู้เขียนแบบ
ฝายแม้วมีความกว้าง 32 เมตร สูง 5.8 เมตร โดยมีการตัดหินแกรนิตมาเรียงกันไว้ 13 ถึง 16 ชั้นเพื่อปรับปริมาณการไหลของน้ำ

จำแนกประเภท
สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนกับเทศบาลเมือง
สมัย
ปีที่ 22 ของรัชสมัยเมจิ (ค.ศ. 1889)
構造
幅32m、高さ5.8m

กลับไปที่รายชื่อ