มุราซากิ ชิกิบุ (ราวปี 973-1014)

เป็นนักประพันธ์และกวีหญิงในช่วงกลางสมัยเฮอัน เธอโด่งดังเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะผู้แต่งนวนิยายเรื่องยาวที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นเรื่อง “เกนจิโมโนกะตะริ”

แม่ตายตั้งแต่ยังเด็ก เธอจึงถูกเลี้ยงดูโดยพ่อชื่อ ฟูจิวาระ โนะทาเมโทกิ ซึ่งเป็นผู้ว่าการเมืองเอจิเซ็น (ปัจจุบันคือจังหวัดฟุกุอิทางตอนเหนือ) ทาเมโทกิ เองก็เป็นผู้ที่มีการศึกษาดี เชี่ยวชาญในการประพันธ์บทกวี และกลอนวะกะ มุระซะคิ ชิคิบุ จึงเติบโตและซึมซับกับภาษาจีนคลาสสิกมาตลอด ในปีค.ศ. 999 ได้ออกเรือนเป็นภรรยาของ ฟูจิวาระโนะโนบุทากะ และสองปีต่อมาก็ให้กำเนิดลูกสาวชื่อ ไดนิโนะซันมิ อย่างไรก็ตาม หลังจากแต่งงานได้สองปี สามีของเธอก็เสียชีวิต เธอจึงได้เข้าไปรับใช้ ฟูจิวาระโนะโชชิ จักรพรรดินีของจักรพรรดิอิจิโจ ว่ากันว่า อยู่มาวันหนึ่ง ฟูจิวาระโนะโชชิ ได้ขอให้มุราซากิ ชิกิบุเขียนเรื่องขึ้น เธอจึงขอเวลาไปกักตัวอยู่ที่ วัดอิชิยะมะเดระ และเริ่มเขียน “เกนจิโมโนกะตะริ” ณ ห้องไอโนะมะที่เชื่อมอยู่กลางอาคารใหญ่สองหลังของวัด

นอกจากนี้ยังผลงานประพันธ์อื่น ๆ อีกได้แก่ “บันทึกประจำวันของมุระซะคิ ชิคิบุ” ซึ่งบรรยายถึงวิถีชีวิตในวังและความรู้สึกของเธอ และ “รวมบทกวีมุระซะคิ ชิคิบุ” ซึ่งเป็นการรวบรวมบทกวีที่ชื่นชอบตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงบั้นปลายชีวิต จากบันทึกประจำวันและเอกสารอื่น ๆ ของมุระซะคิ ชิคิบุ ทำให้ทราบว่าเธอเป็นคนเก็บตัวอ่อนน้อมถ่อมตน แต่ก็มีสติปัญญาแหลมคม

เข้าชมทั่วไป
ห้องเกนจิ, เทศกาลชูเกะสึไซ และพิธีไหว้มุระซะคิชิคิบุโฮโย, เกนจิโมโนกะตะริและมุระซะคิชิคิบุ

กลับไปที่รายชื่อ