เกนจิโมโนกะตะริและมุระซะคิชิคิบุ

มุระซะคิชิคิบุสูญเสียมารดาไปตั้งแต่ยังเยาว์วัย และได้ถูกเลี้ยงดูให้เติบโตโดย ฟุจิวะระ โนะ ทะเมะโทะคิ ซึ่งเป็นบิดา และเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการเขียน กล่าวสืบต่อกันมาว่ามุระซะคิชิคิบุคุ้นเคยกับหนังสือจีน (คันเซะคิ) แต่ยังเยาว์วัย และดูจะมีพรสวรรค์ในเรื่องการเขียน โดยได้แต่งงานกับฟุจิวะระ โนะ โนะบุทะคะ ที่เป็นขุนนางเมื่อประมาณปีที่ 4 ของรัชสมัยโจโทะคุ (ค.ศ. 998) แต่ก็ต้องจากกันเพราะสามีของเธอได้เสียไปหลังจากนั้นแค่ 2 ปี และหลังจากนั้นเธอก็ไม่ได้แต่งงานใหม่กับใคร และเข้ารับใช้ท่านโชชิ จักรพรรดินีของจักรพรรดิอิจิโจ
ในวันหนึ่ง ท่านจักรพรรดินีได้เรียกชิคิบุ และทูลสั่งให้แต่งเรื่องเล่าที่ดีวิเศษขึ้น แต่ในตอนแรกชิคิบุไม่สามารถเขียนแต่งเรื่องได้อย่างที่ต้องการ จึงเดินทางมาเก็บตัวเป็นเวลา 7 วันเพื่ออธิษฐานขอให้เกิดความสำเร็จตามที่ตั้งใจกับพระพุทธรูป “เนียวอิรินคันเซะโนงโบะซะสึ” ซึ่งเป็นพระประธานของวัดอิชิยะมะเดระ โดยในคืนที่ 7 เมื่อได้ชมวิวที่สวยงามของโอมิจากวัดอิชิยะมะเดระ จึงทำให้ใจของชิคิบุสงบใส และคิดโครงเรื่องที่จะแต่งออกมาได้มากมาย กล่าวสืบต่อกันมาว่าในตอนนั้นชิคิบุไม่ได้มีการเตรียมกระดาษเพื่อจะเขียนบันทึกเรื่องราวเอาไว้ เลยได้ขอยืมกระดาษคัดพระสูตรไดฮังเนียเคียวที่มีอยู่ด้านในพระอุโบสถมาเขียนสิ่งที่นึกขึ้นมาได้ลงที่ด้านหลังพระสูตร
และนั่น ก็ได้ทำให้เกิด “เกนจิโมโนกะตะริ” นิยายเรื่องยาวที่เก่าที่สุดของญี่ปุ่น และถือเป็นนิยายที่โด่งดังมากไว้ในประวัติศาสตร์วรรณคดีของญี่ปุ่น
ปัจจุบัน ที่ข้างหอพระสูตรภายในบริเวณวัด ยังมีเจดีย์หินที่ระลึกของมุระซะคิชิคิบุ โดยตั้งอยู่ข้างแผ่นหินสลักบทกลอนของมัสสึโอะบะโช

สถานที่ที่มีความสัมพันธ์
พระอุโบสถ (ฮองโด) วัดอิชิยะมะเดระ

กลับไปที่รายชื่อ